ปรับพินัย

        

จึงจับกุม ไม่ได้ มีหน้าที่

ตามที่คณะรัฐมนตรี   ได้ประชุมเมื่อ  วันอังคารที่สอง  เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช สองพัน ห้าร้อย หกสิบ  สี่     โดยเห็นชอบ ให้มีการปฏิรูปกฎหมายโดยเปลี่ยนโทษอาญาความผิดเล็กน้อยเป็นโทษปรับเป็นพินัย ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา เจ็ดสิบเจ็ด  วรรคสาม   ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช สองพัน ห้าร้อยหกสิบ   ที่กําหนดให้รัฐพึงกําหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรง ประกอบกับแผนปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย ได้กําหนดให้มีการปรับปรุงกฎหมาย ในการ กําหนดโทษทางอาญาให้เหมาะสมกับสภาพความผิด   เพื่อ มิให้บุคคลต้องรับโทษ หนักเกินสมควร  

               พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พุทธศักราช  สองพัน ห้าร้อย หกสิบห้า   เป็นพระราชบัญญัติ ที่ เปลี่ยนโทษปรับทางอาญาและโทษปรับทางปกครองมาเป็น โทษปรับเป็นพินัย กล่าวคือ เงินค่าปรับที่ต้อง ชำระให้แก่รัฐ ซึ่งเป็นมาตรการทางกฎหมายที่จะนำมาใช้แทนโทษทางอาญาสำหรับผู้กระทำความผิดไม่ร้ายแรง และโดยสภาพไม่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอย่างร้ายแรงหรือไม่กระทบต่อส่วนรวมอย่างกว้างขวาง    โดยการกำหนดให้ความผิดทางพินัยมีการชำระค่าปรับเป็นพินัย ตามจำนวนเงินที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือศาล กำหนดเท่านั้น ไม่มีการจำคุกหรือกักขังแทนค่าปรับ ไม่มีการบันทึกลงในประวัติอาชญากรรม ซึ่งไม่มีสภาพบังคับเป็นโทษอาญา และลดทอนโทษอาญาที่ไม่จำเป็น รวมทั้งปรับปรุงระบบโทษปรับให้มีประสิทธิภาพ

    กล่าวคือ  “ พ.ร.บ.ค่าปรับเป็นพินัย หมายถึง กฎหมายในการกำหนดโทษอาญาหรือมาตรการลงโทษให้เหมาะสมกับสภาพความร้ายแรงของการกระทำความผิด เพื่อไม่ให้บุคคลต้องรับโทษเกินสมควร”

        ซึ่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับแล้ว  ในวันที่ 25 ตุลาคม พุทธศักราช 2566 เป็นต้นมา

ตามบัญชี 1 จำนวน 169 พ.ร.บ. มีผลบังคับใช้ใช้แล้ว ส่วน พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับตำรวจประกอบด้วย  

-พระราชบัญญัติจราจรทางบก

-พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ

-พ.ร.บ.

(เกี่ยวข้อง ไม่ใส่  ท้ายบัญชีมี 3 บัญชี  

บัญชี ๑  จำนวน ๑๖๘ พ.ร.บ.ฯ โทษปรับสถานเดียวทางอาญา ถือเป็นอัตราค่าปรับเป็นพินัย เมื่อพ้นกำหนด ๓๖๕ วัน (มาตรา ๓๙) (๒๕ ต.ค.๖๖)

บัญชี ๒ จำนวน ๓๓ พ.ร.บ.ฯ โทษปรับสถานเดียวทางอาญา ถือเป็นอัตราค่าปรับเป็นพินัย เมื่อตราเป็น “พระราชกฎษฎีกา” (มาตรา ๔๐)

บัญชี ๓ จำนวน ๓ พ.ร.บ.ฯ โทษปรับทางปกครอง ถือเป็นอัตราค่าปรับเป็นพินัย เมื่อพ้นกำหนด ๓๖๕ วัน (มาตรา ๔๓) (๒๕ ต.ค.๖๖)

ระเบียบ ตร. ว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะ ๓๒ การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ.๒๕๖๖ ประกอบ มาตรา ๔๗ พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัยให้ประวัติเป็นอันสิ้น ลบข้อมูลประวัติความผิดทางอาญา เป็นความผิดทางพินัยภายใน ๓๖๕ วัน   )

                         –พระราชบัญญัติจราจรทางบก–

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 นายกรัฐมนตรีจึงออกประกาศกำหนดเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัย  ความผิดที่มีอัตรโทษปรับสถานเดียวตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ให้เจ้าพนักงานจราจร ที่ดำรงตำแหน่งสารวัตรหรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป สำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เป็น ผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัย

-ท่อน 2-

 ด้วยปัจจุบันยังไม่มีแบบฟอร์มบันทึกการตรวจพบการกระทำผิดเป็นพินัย ทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่มั่นใจว่าจะต้องบันทึกเก็บหลักฐานอย่างไร และผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ ไม่ถนัดการเขียนบันทึก มีความประสงค์ต้องการแบบฟอร์มสำเร็จรูปในการทำงาน

       สถานีตำรวจภูธรลำปลายมาศ ได้แก้ปัญหาดังนี้ กรณี ร้อยเวรป้องกันปราบปราม  ซึ่งมิใช่เจ้าพนักงานจราจร และไม่ได้เป็น เจ้าหน้าที่ของรัฐ  แม้จะแต่งตั้งเป็น เจ้าพนักงานจราจร ตาม พระราชบัญญัติจราจร มาตราสี่ วงเล็บสามเจ็ด   แต่ยังไม่ผ่านการอบรมกฎหมายจราจร จึงถือว่าขาดคุณสมบัติ   ซึ่งไม่มีอำนาจปรับเป็นพินัย ได้ตรวจพบการกระทำความผิดเป็นพินัย ไม่ว่าจะตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พระราชบัญญัติรถยนต์ และ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก แล้วแต่กรณี ให้พิจารณาดำเนินการดังนี้

  ข้อหนึ่ง    ความผิดเป็นพินัยมิใช่ความผิดทางอาญา จึงจับกุมไม่ได้      มีหน้าที่เพียงบัญญัติไว้ในมาตรา ยี่สิบสี่    พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเป็นพินัย คือ ส่งเรื่องให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจและหน้าที่ 

   ข้อสอง  การส่งเรื่องให้หน่วยงานรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีแนวทางตามหนังสือ ตอ รอ ที่ ศูนย์ ศูนย์ หนึ่ง หนึ่ง จุด สามสอง ทับ สองสามหนึ่ง  ลงวันที่ สิบเจ็ด มกราคม พุทธศักราช สองพันห้าร้อยหกสิบเจ็ด ข้อ สองจุดสองวงเล็บสาม  กรณีข้าราชการตำรวจมิได้เป็น เจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการแจ้งตามมาตรา ยี่สิบสี่   ให้รวบรวมข้อมูลผู้กระทำความผิด ข้อมูลยานพาหนะ และพฤติการณ์เกี่ยวกับการกระทำผิดนั้นๆ เท่าที่จะกระทำได้ 

    ข้อสาม   ตามข้อ สอง ข้อแนะนำเบื้องต้นคือ ประยุกต์ใช้แบบฟอร์มบันทึกการกระทำความผิดเป็นพินัย  ประยุกต์จากใบสั่ง ถ่ายภาพขณะกระทำผิด ทำแผนที่เกิดเหตุ ถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ ใบอนุญาตขับขี่ เพื่อทราบข้อมูลผู้กระทำผิด และรวบรวมเอกสารเกี่ยวกับรถคันที่ใช้กระทำผิดประกอบเรื่อง 

   ข้อสี่   ในส่วนร้อยเวรป้องกันปราบปราม   พบการกระทำผิดเป็นพินัยตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก เมื่อจะส่งเรื่องให้เจ้าพนักงานจราจร ซึ่งเป็น เจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็ใช้แบบบันทึกข้อความตามแบบร่างข้างต้น เพื่อเสนอผู้บังคับบัญชากลั่นกรอง และมอบหมายให้เจ้าพนักงานจราจรซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ใช้กระบวนการปกติตามมาตรา สิบเก้า ถึงมาตรา ยี่สิบเอ็ด ในการแจ้งหนังสือแจ้งข้อกล่าวหา แสวงหาข้อเท็จจริง ออกคำสั่งปรับเป็นพินัย เป็นต้น ซึ่งจะไม่ใช้กระบวนการออกใบสั่งแล้ว

***************

แนวทางดำเนินการของ สถานีตำรวจภูธรลำปลายมาศ

ข้อหนึ่ง   ถ้าผิด พอ รอ บอ จราจร ออกใบสั่ง 

ข้อสอง   ผิด พอ รอ บอ รถยนต์ ถ่ายภาพคน พร้อมรด   หลักฐานคนขับ  หลักฐานรด    บันทึกพฤติการณ์ แนบภาพถ่าย ใบหน้าส่งขนส่ง

ข้อสาม   ถ้าจำเป็น ใช้บันทึกสมัครใจนำรถส่ง พนักงานสอบสวน

ข้อสี่   รถคันเดียวผิดพินัยหลายกรรม

    ข้อสี่จุดหนึ่ง  เจ้าพนักงานจราจรออกใบสั่งจราจร

    ข้อสี่จุดสอง   ไม่มีใบขับขี่ ออกใบสั่งปกติ

     ข้อสี่จุดสาม พอ รอ บอ  รถยนต์ ขนส่ง เป็นพินัย ทำใบปะหน้าส่งตามข้อสอง

    ในส่วน เจ้าหน้าที่ของรัฐ ตาม พอ รอ บอ จราจร

กอ      ผู้ปฏิบัติหน้าที่จราจรเดิม และเคยทดสอบจราจรประจำปี และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานจราจรตาม พอ รอ บอ จราจร มาตราสี่วงเล็บสามสิบเจ็ด

 ขอ  ผู้เป็นเจ้าพนักงานจราจรโดยตำแหน่ง เช่น  ผู้บังคับหมู่งานจราจร สถานีตำรวจภูธรลำปลายมาศ 

    ดังนั้น ตามข้อ กอ และ ขอ  ทุกนายออกใบสั่งได้ 

     หากอ่านหนังสือสั่งการประกอบแบบฟอร์มรายงาน ผู้บังคับบัญชาให้ทำ สาม  อย่าง

ข้อหนึ่ง   พินัย จราจร ระบุเลขใบสั่ง/ค่าปรับ

ข้อสอง  พินัย รถยนต์/ขนส่ง  ระบุเลขนำส่ง

ข้อสาม  เข้าเหตุ ปอวิอาญา มาตรา หนึ่งร้อยสามสิบสอง ให้พนักงานสอบสวนใช้อำนาจยึด 

    ดังนั้น มิได้ให้ยึดแต่อย่างใด แต่หากมีเหตุต้องตรวจสอบ ส่วนตัวเห็นว่าควรใช้หลักยินยอมตามแบบฟอร์มที่ออกแบบให้ ถ้าไม่จำเป็น ไม่ต้องใช้