ประวัติอำเภอลำปลายมาศ

ประวัติ ข้อมูลพื้นฐานอำเภอลำปลายมาศ

ประวัติอำเภอลำปลายมาศ

ลำปลายมาศ เป็นอำเภอหนึ่งทางทิศตะวันตกของจังหวัดบุรีรัมย์ มีแหล่งน้ำสำคัญคือลำน้ำมาศ และเป็น 1 ใน 4 อำเภอของจังหวัดที่มีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือผ่าน ทำให้กลายเป็นเมืองค้าขายที่สำคัญของจังหวัด สินค้าที่สำคัญได้แก่ ผ้าไหมมัดหมี่, จักสานไม้, ไข่เค็มพอกดิน และแคนตาลูป

ที่มาของชื่อ

ความหมายของชื่อ “ลำปลายมาศ” แยกได้เป็นสามคำ ดังนี้

  • ลำหมายถึง เส้นทางหรือสายน้ำ
  • ปลายเพี้ยนและกร่อนมาจากคำส่วยหรือคำเขมรว่า “ประ” แปลว่า เงิน
  • มาศเป็นคำสันสกฤต แปลว่า ทอง

เมื่อรวมความแล้ว ลำปลายมาศจึงแปลว่า “เส้นทางหรือสายน้ำเงินทอง”

ประวัติ

เดิมบริเวณอำเภอลำปลายมาศเป็นเพียงหมู่บ้านเล็ก ชุมชนกลุ่มน้อย มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ไม่มากนัก มีเพียงเรื่องเล่าขานของ “ท้าวปาจิตกับนางอรพิม” ที่มีการเล่าถึง “ลำน้ำมาศ” จนกระทั่งทางราชการได้สร้างทางรถไฟจากนครราชสีมา (สร้างถึงนครราชสีมาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2443 และถึงบุรีรัมย์เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2468) ผ่านเข้ามาทางหมู่บ้านแห่งนี้ จึงมีผู้คนเข้าจับจองที่ดิน มีบ้านเรือนจำนวนมากขึ้นโดยลำดับ

เมื่อเส้นทางรถไฟผ่านจนไปสิ้นสุดลงที่อุบลราชธานีแล้ว จึงมีคนตั้งชื่อหมู่บ้านบริเวณนี้ขึ้น เรียกกันมาตลอดว่า “บ้านหนองยาง” ช่วงเวลานั้นเมื่อมีสถานีรถไฟแล้ว ชาวบ้านก็เรียกชื่อสถานีว่า “สถานีหนองยาง” หรือ “สะเตหนองยาง” โดยใหนตอนนั้น บ้านหนองยางยังขึ้นกับอำเภอนางรอง

ต่อมาได้มีการตั้งเป็น กิ่งอำเภอลำปลายมาศ ขึ้นกับอำเภอเมืองบุรีรัมย์ (วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478) และ ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ (วันที่ 21 ตุลาคม 2490)

เมื่อ (วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498)พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จนั่งรถไฟแล่นผ่าน สถานนีรถไฟลำปลายมาศ ประชาชนชาวลำปลายมาศ ได้กราบบังคมทูลขอให้เสด็จฯ ลงจากรถไฟพระที่นั่ง เพื่อพระราชดำเนินบนผ้าขาวที่ปูลาดไว้หน้าสถานีเพื่อนำไปสักการะ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ลงให้ราษฎรเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทตามที่ราษฎรทูลขอ ส่วนพระองค์ทรงบันทึกภาพประชาชนที่ตามมาส่งเสด็จฯ จนเต็มชานชลา ก่อนเสด็จต่อไปยังสถานีรถไฟนครราชสีมา และประทับเครื่องบินพระที่นั่งเสด็จฯ กลับกรุงเทพมหานคร

พระนครลำมาศ

ชาวบ้านคนเฒ่าคนแก่ในแถบนี้เรียกชื่อว่า “พระนครลำมาศ” เพราะมีชุมชนโบราณอยู่ราว 27 ซึ่งมากที่สุดในเมืองบุรีรัมย์ เป็นเมืองการค้าที่เจริญรุ่งมาก ซึ่งทิศตะวันตกอยู่ใกล้กับ มณฑลนครราชสีมา หรือ เมืองโคราช (จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน) ทิศตะวันออกอยู่ติดกับ เมืองแป๊ะ หรือ เมืองบุรีรัมย์ (จังหวัดบุรีรัมย์ในปัจจุบัน) ทิศใต้ติดกับ เมืองนางรอง (อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ในปัจจุบัน) และยังเป็นทางผ่านของเส้นทาง “ราชมรรคา” จากเมืองนครวัดนครธม (ประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าที่เจริญรุ่งเรืองในอดีตของอาณาจักรเขมรโบราณ ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่2 เป็นเส้นทางยาวไปจนถึง เมืองพิมาย (อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ

พระนครลำมาศเคยมีอาณาเขตคลอบคลุมไปจนถึง ตำบลห้วยหิน (อำเภอหนองหงษ์ จังหวัดบุรีรัมย์ในปัจจุบัน) อารยธรรมที่ชัดเจนและยังหลงเหลืออยู่บ่งบอกถึงความเจริญได้แก่ โรงสีข้าวจำนวนมากที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลลำปลายมาศ ฉางข้าวโบราณที่สถานนีรถไฟตำบลแสลงพันกับตำบลหนองกระทิง ชาวบ้านแถบนี้สมัยก่อนนิยมทำนาเป็นหลัก โรงสีข้าวจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะส่งออกค้าขาย และยังนำสินค้าส่งออกค้าขายจาก เมืองนางรอง มาขึ้นรถไฟที่สถานนีลำปลายมาศ[1]

 

ประวัติการตั้งตำบลต่างๆ

  • วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2478 แยกพื้นที่ตำบลทะเมนชัย ตำบลตลาดโพธิ์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ และตำบลยางลาว (ตำบลโคกกลางในปัจจุบัน) อำเภอนางรอง มาตั้งเป็นกิ่งอำเภอลำปลายมาศ ขึ้นกับอำเภอเมืองบุรีรัมย์[1]
  • วันที่ 3 เมษายน 2482 โอนพื้นที่หมู่ 19 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านบัว อำเภอเมืองบุรีรัมย์ มาขึ้นกับตำบลทะเมนชัย กิ่งอำเภอลำปลายมาศ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ และตั้งตำบลลำปลายมาศ แยกออกจากตำบลทะเมนชัย[2]
  • วันที่ 30 กรกฎาคม 2483 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลยางลาว กิ่งอำเภอลำปลายมาศ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ เป็น ตำบลโคกกลาง[3]
  • วันที่ 31 ธันวาคม 2483 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดนครราชสีมากับจังหวัดบุรีรีมย์ โดยโอนพื้นที่ตำบลโคกสะอาด อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ไปขึ้นกับ กิ่งอำเภอลำปลายมาศ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์[4]
  • วันที่ 21 ตุลาคม 2490 ยกฐานะกิ่งอำเภอลำปลายมาศ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ เป็นอำเภอลำปลายมาศ[5]
  • วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลลำปลายมาศ ในท้องที่บางส่วนของตำบลลำปลายมาศ[6]
  • วันที่ 17 ธันวาคม 2500 ตั้งตำบลหนองคู แยกออกจากตำบลลำปลายมาศ และตั้งตำบลห้วยหิน แยกออกจากตำบลหนองกะทิง[7]
  • วันที่ 23 กันยายน 2501 เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่ของอำเภอลำปลายมาศ (1,2,3,4,5)[8]
    • (1) โอนพื้นที่หมู่ 13 (ในขณะนั้น) ของตำบลลำปลายมาศ ไปตั้งเป็นหมู่ 14 ของตำบลหนองคู
    • (2) โอนพื้นที่หมู่ 3 (ในขณะนั้น) ของตำบลห้วยหิน ไปตั้งเป็นหมู่ 7 ของตำบลหนองกะทิง
    • (3) โอนพื้นที่หมู่ 5 (ในขณะนั้น) ของตำบลห้วยหิน ไปตั้งเป็นหมู่ 16 ของตำบลหนองกะทิง
    • (4) โอนพื้นที่หมู่ 8 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองกะทิง ไปตั้งเป็นหมู่ 3 ของตำบลห้วยหิน
    • (5) โอนพื้นที่หมู่ 17 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองกะทิง ไปตั้งเป็นหมู่ 5 ของตำบลห้วยหิน
  • วันที่ 21 มีนาคม 2510 ตั้งตำบลแสลงพัน แยกออกจากตำบลทะเมนชัย[9]
  • วันที่ 14 ตุลาคม 2512 ตั้งตำบลไทยสามัคคี แยกออกจากตำบลหนองกะทิง และตั้งตำบลสระแก้ว แยกออกจากตำบลห้วยหิน[10]
  • วันที่ 19 ตุลาคม 2514 ตั้งตำบลเมืองแฝก แยกออกจากตำบลตลาดโพธิ์ และตั้งตำบลบ้านยาง แยกออกจากตำบลโคกกลาง[11]
  • วันที่ 24 มิถุนายน 2518 ตั้งตำบลไผทรินทร์ แยกออกจากตำบลหนองกะทิง[12]
  • วันที่ 4 ธันวาคม 2522 ตั้งตำบลโคกล่าม แยกออกจากตำบลโคกสะอาด[13]
  • วันที่ 23 กันยายน 2523 ตั้งตำบลหินโคน แยกออกจากตำบลหนองคู[14]
  • วันที่ 21 เมษายน 2524 แยกพื้นที่ตำบลสระแก้ว ตำบลห้วยหิน และตำบลไทยสามัคคี อำเภอลำปลายมาศ มาตั้งเป็นกิ่งอำเภอหนองหงส์ ขึ้นกับอำเภอลำปลายมาศ[15]
  • วันที่ 5 เมษายน 2526 จัดตั้งสุขาภิบาลหนองหงส์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลสระแก้ว[16]
  • วันที่ 7 มิถุนายน 2526 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลลำปลายมาศ เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น[17]
  • วันที่ 27 กันยายน 2526 จัดตั้งสุขาภิบาลทะเมนชัย ในท้องที่บางส่วนของตำบลทะเมนชัย และตำบลแสลงพัน[18]
  • วันที่ 2 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลหนองชัยศรี แยกออกจากตำบลสระแก้ว[19]
  • วันที่ 25 พฤศจิกายน 2528 ตั้งตำบลหนองบัวโคก แยกออกจากตำบลแสลงพัน[20]
  • วันที่ 11 ธันวาคม 2529 ตั้งตำบลเมืองฝ้าย แยกออกจากตำบลไทยสามัคคี[21]
  • วันที่ 6 สิงหาคม 2530 ตั้งตำบลบุโพธิ์ แยกออกจากตำบลตลาดโพธิ์ และตั้งตำบลสระทอง แยกออกจากตำบลสระแก้ว[22]
  • วันที่ 31 ธันวาคม 2530 ยกฐานะกิ่งอำเภอหนองหงส์ อำเภอลำปลายมาศ เป็นอำเภอหนองหงส์[23]
  • วันที่ 22 ธันวาคม 2536 ตั้งตำบลหนองโดน แยกออกจากตำบลบ้านยาง[24]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลลำปลายมาศ และสุขาภิบาลทะเมนชัย เป็นเทศบาลตำบลลำปลายมาศ และเทศบาลตำบลทะเมนชัย ตามลำดับ

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอตั้งอยู่อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันตกระยะทางประมาณ 31 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอลำปลายมาศแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 16 ตำบล 216 หมู่บ้าน

1.

 

ลำปลายมาศ

 

(Lam Plai Mat)

   

    

9.

 

เมืองแฝก

 

(Mueang Faek)

 

17 หมู่บ้าน

 

2.

 

หนองคู

 

(Nong Khu)

   

14 หมู่บ้าน

    

10.

 

บ้านยาง

 

(Ban Yang)

 

13 หมู่บ้าน

 

3.

 

แสลงพัน

 

(Salaeng Phan)

   

17 หมู่บ้าน

    

11.

 

ผไทรินทร์

 

(Phathairin)

 

19 หมู่บ้าน

 

4.

 

ทะเมนชัย

 

(Thamen Chai)

   

17 หมู่บ้าน

    

12.

 

โคกล่าม

 

(Khok Lam)

 

12 หมู่บ้าน

 

5.

 

ตลาดโพธิ์

 

(Talat Pho)

   

9 หมู่บ้าน

    

13.

 

หินโคน

 

(Hin Khon)

 

16 หมู่บ้าน

 

6.

 

หนองกะทิง

 

(Nong Kathing)

   

11 หมู่บ้าน

    

14.

 

หนองบัวโคก

 

(Nong Bua Khok)

 

13 หมู่บ้าน

 

7.

 

โคกกลาง

 

(Khok Klang)

   

16 หมู่บ้าน

    

15.

 

บุโพธิ์

 

(Bu Pho)

 

8 หมู่บ้าน

 

8.

 

โคกสะอาด

 

(Khok Sa-at)

   

16 หมู่บ้าน

    

16.

 

หนองโดน

 

(Nong Don)

 

8 หมู่บ้าน

 

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอลำปลายมาศประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลลำปลายมาศครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำปลายมาศทั้งตำบล บางส่วนของตำบลหนองคู และบางส่วนของตำบลหินโคน
  • เทศบาลตำบลทะเมนชัยครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลทะเมนชัยและบางส่วนของตำบลหนองบัวโคก
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองคูครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองคู (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลลำปลายมาศ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแสลงพันครอบคลุมพื้นที่ตำบลแสลงพันทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทะเมนชัยครอบคลุมพื้นที่ตำบลทะเมนชัย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลทะเมนชัย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดโพธิ์ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดโพธิ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะทิงครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกะทิงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกกลางครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกกลางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาดครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกสะอาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองแฝกครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองแฝกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยางครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านยางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกล่ามครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกล่ามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหินโคนครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินโคน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลลำปลายมาศ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวโคกครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวโคก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลทะเมนชัย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบุโพธิ์ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบุโพธิ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโดนครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองโดนทั้งตำบล

โครงสร้างพื้นฐาน

การขนส่ง

สถานีรถไฟลำปลายมาศ

การศึกษา[แก้]

ประถมศึกษา

 

มัธยมศึกษา

อาชีวศึกษา

วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ (ศูนย์การเรียนรู้ลำปลายมาศ)

วัฒนธรรม

อำเภอลำปลายมาศมีเทศกาลท้องถิ่นที่สำคัญ คือ เทศกาลงานงิ้ว ซึ่งจัดขึ้นในเดือนธันวาคมของทุกปี